Talk:Shrinkflation

Information from The State of Sarkhan Official Records
สัญญาณบ่งชี้ ‘ข้าวของแพงขึ้น’ แต่เราไม่เอะใจ!

เคยสังเกตมั้ยครับว่า ในรอบ 2 ปีมานี้ สินค้าอุปโภคต่างๆ มีการเปลี่ยนแพคเกจ เหมือนทำทีจะรีแบรนด์ แต่ราคาไม่เปลี่ยน ซึ่งบางทีเราก็ไม่ได้รู้สึกอะไร แต่ความเป็นจริง สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นถ้ามีการเปลี่ยนโฉมผลิตภัณฑ์ในรอบ 2 ปีนี้ แนวโน้มคือ เค้าจะลดปริมาณสินค้าลง แต่ขายราคาเท่าเดิม
:
จริงๆ เราอาจเคยได้ยินการทำอะไรแบบนี้กับมันฝรั่งทอดแบบถุง ที่ราคาเท่าเดิมมายาวนาน แต่ปริมาณลดลงเรื่อยๆ อย่างไรก็ดี ปรากฎการณ์แบบนี้มันมาถึงสินค้าที่ใช้ทั่วไปแล้ว ซึ่งผลของการทำแบบนี้คือ เวลาเราไป ‘ซื้อของชำ’ ที เราจะไม่รู้สึกว่าอะไรมันแพงขึ้นเลย เสียเงินก็เสียเท่าเดิม แต่แนวโน้มคือ ‘ปริมาณ’ สินค้าได้ได้ลดลงไปแล้วโดยเราไม่ระแคะระคายเลย
:
บางคนอาจนึกออกทันทีว่า มันคืออะไร แต่ถ้านึกไม่ออก เราอยากยกตัวอย่างสินค้ายอดนิยมจำนวนหนึ่งที่มีการ ‘ลดปริมาณ’ ลงแน่ๆ ที่เราไปสำรวจมา
:
อย่างแรก ‘แชมพู’ ยอดฮิตยี่ห้อหนึ่งที่ชอบขายแพ็คคู่แบบ 1 แถม 1 พบเห็นได้ตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไป หลายๆ คน แม้แต่คนที่ใช้ประจำก็น่าจะจำไม่ได้ ว่าปริมาตรแต่ละขวดมันขนาดไหน ซึ่งถ้าไปค้นดูในอินเทอร์เน็ต เราก็จะพบทั้งไซส์ 450 มิลลิลิตร 410 มิลลิลิตร และ 370 มิลลิลิตร
:
แต่ความเป็นจริงก็คือ ถ้าไปเดินซุปเปอร์มาร์เก็ตตอนนี้เลย เราจะเจอแชมพูยี่ห้อที่ว่า แต่ขนาด 370 มิลลิลิตร
:
ถ้าคนใช้ประจำ ก็อาจรู้สึกว่าหลังๆ มันเหมือนใช้แล้วมันหมดเร็วขึ้น หรือรู้สึกขวดมันเบาๆ ลง ซึ่งคุณไม่ได้เข้าใจอะไรผิดเลยครับ สมัยก่อนแชมพูยี่ห้อนี้ขวดไซส์แบบหัวกดเล็กสุด มันคือขนาด 450 มิลลิลิตร ต่อมาลดเป็น 410 มิลลิลิตร และส่าสุดคือลดเป็น 370 มิลลิลิตร
:
เราจะไม่รู้เลยถ้าเราไม่ลองค้นดู และเราไม่รู้ด้วยว่ามันเกิดขึ้นเมื่อไร แต่ความเป็นจริงคือขนาดมันลดลง 20% แล้วในเวลาน่าจะไม่นานด้วย
:
นี่คือกรณีแรก
:
กรณีต่อมา ใครเคยใช้ ‘ทิชชู่ม้วนยาว’ ยี่ห้อฮิตที่มักมีโปรโมชั่นแพ็คแบบ 6 แถม 2 ก็น่าจะพอจำได้ว่ามันมีการเปลี่ยนแพคเกจในช่วงราวๆ ต้นปี 2024 นี้เอง ซึ่งแพคเกจใหม่ก็รู้สึกใช้ได้เหมือนเดิมไม่มีอะไร แต่ถ้าใครบังเอิญได้เก็บ ‘แกนทิชชู่’ สีน้ำตาลของอันเก่า มาเทียบกับอันใหม่ ก็น่าจะเห็นว่า จริงๆ แกนทิชชู่มันสั้นลง หรือพูดง่ายๆ ก็คือ มันมีการ ‘ลดปริมาณ’ โดยการ ‘ลดขนาดกระดาษทิชชู่’ นั่นแหละ และแน่นอนราคาขายมันเท่าเดิม
:
กรณีสุดท้าย ล่าสุด ‘อาหารสุนัข’ ยี่ห้อดังยี่ห้อหนึ่งที่มีส่วนแบ่งตลาดอาหารสุนัขน่าจะอันดับต้นๆ ในไทย กำลังจะลดขนาดอาหารไซส์ต่างๆ ซึ่งบางคนไปซื้อก็อาจไม่รู้สึกอะไร แต่ความเป็นจริง กระสอบขนาด 10 กิโลกรัมจะไม่มีแล้ว แต่จะมีกระสอบขนาด 8 กิโลกรัมแทน แน่นอนราคาเท่าเดิม โดยปริมาณลดลงไป 20% ซึ่งถ้าเราไปซื้อของตามร้านขายอาหารสัตว์เลี้ยงเจ้าประจำ สินค้าขนาดใหม่จะวางอยู่ที่เดิมเลย ราคาก็เท่าเดิม ถ้าเราไม่เอะใจถามคนขาย เราก็อาจไม่รู้ว่าขนาดมันเล็กลง
:
สิ่งที่น่าสนใจและเป็นคำถามใหญ่ก็คือ ปรากฎการณ์ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ แม้ว่าจริงๆ ไม่ใช่เรื่องประหลาดในโลก และมันมีคำเรียกปรากฎการณ์นี้ด้วยซ้ำว่า ‘Shrinkflation’ แต่คำถามคือ คนที่คำนวณอัตราเงินเฟ้อในไทยมองเห็นปรากฎการณ์ที่ว่านี้หรือไม่? ถ้าไม่ เป็นไปได้หรือเปล่าว่าที่อัตราเงินเฟ้อไทยค่อนข้างต่ำกว่าชาวบ้าน เพราะสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ เลือกจะ ‘ไม่ขึ้นราคา’ แต่เลือกจะ ‘ลดปริมาณ’ กันหมด?
:
นี่ไม่ใช่สิ่งทีเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะเป็นที่รู้กันว่าภาวะ ‘Shrinkflation’ เป็นสิ่งที่อาจไม่เห็นใน ‘อัตราเงินเฟ้อ’ ได้ ซึ่งผลก็คือ ผู้บริโภคไทยจริงๆ ในทางปฏิบัติก็อาจต้องเจอภาวะเงินเฟ้อที่ไม่ต่างจากที่อื่น เพียงแต่อัตราเงินเฟ้อที่คำนวณออกมาน้อยกว่า กล่าวคือ ถ้าสินค้าราคาขึ้น 20% มันจะไปโผล่ในอัตราเงินเฟ้อแน่ๆ แต่สินค้าลดปริมาณลง 20% แต่ราคาเท่าเดิม มันมีโอกาสที่จะไม่ไปโผล่ในการคิดคำนวณอัตราเงินเฟ้อ นี่จะทำให้ผู้วางนโยบายไม่รู้สึกว่าอัตราเงินเฟ้อในไทยสูงอะไร ซึ่ง ‘ความเข้าใจผิด’ ตรงนี้มันจะส่งผลต่อทั้งนโยบายการเงินและการคลังแน่ๆ
:
ต้องย้ำว่า ภาวะแบบนี้ในอีกแง่หนึ่ง อาจทำให้รัฐบาลตีเนียนว่าภาวะ ‘ข้าวยากหมากแพง’ ไม่มีจริงก็ได้ เพราะ อัตราเงินเฟ้อมันออกมาต่ำ ทั้งที่จริงๆ ในทางปฏิบัติ ผู้บริโภคชาวไทยอาจพบกับภาวะเงินเฟ้อสินค้าอุปโภคบริโภคเท่ากับประเทศอื่นๆ ในโลก เพียงแต่ชาวไทยเจอมันในเวอร์ชั่น ‘ลดปริมาณ’ เท่านั้นเอง
:
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในคอมเม้นท์
:
#เงินเฟ้อ #สินค้าแพง #ข้าวของเครื่องใช้ #เศรษฐศาสตร์ #เศรษฐกิจ #สินค้าอุปโภคบริโภค #ข้าวยากหมากแพง #ของแพง #ลดปริมาณ #ผู้บริโภค #นโยบายการเงิน #กระทรวงการคลัง #Shrinkflation #TheOpener