Talk:Sandwich Generation

Information from The State of Sarkhan Official Records
แบกพ่อแม่ แบกลูกหลาน แบกการงาน
ทำความรู้จักกับ 'Sandwich Generation' วัยกลางคนที่ต้องแบกรับหน้าที่ทับซ้อน
.
มันเหมือนกลายเป็นลูปเวลาทรมานหรือวัฏจักรแห่งการแบกรับอะไรสักอย่างไปแล้ว เมื่อพูดถึง 'ภาระหน้าที่' ของคนแต่ละช่วงวัยในสังคมไทย ลองจินตนาการตามแบบง่าย ๆ พ่อแม่คุณอาจเป็นคนต่างจังหวัด ต่อสู้ดิ้นรนเข้ามาทำงานในเมืองใหญ่ ส่งเงินกลับไปดูแลครอบครัวที่บ้านเกิด จากนั้นไม่นานก็แต่งงานมีลูก นั่นเท่ากับว่าพ่อแม่คุณต้องเลี้ยงลูกไปด้วย ส่งเสียครอบครัวไปด้วย และทำซ้ำแบบนี้อีก 20 กว่าปี จนกว่าลูกจะโตหรือพ่อแม่จะตาย
.
สิ่งที่น่าเศร้าคือวัฏจักรนี้ยังไม่จบ คุณร่ำเรียนและเติบโตขึ้นมาทำงานในสนามแห่งการแข่งขันที่เรียกร้องแรงใจมากกว่าแรงกาย ฝ่าฟันสะสมประสบการณ์จนเริ่มยืนด้วยขาของตนเองได้ จากนั้นแต่งงานและมีลูก ทว่าไม่นานพ่อแม่ของคุณก็แก่ชราลงและต้องได้รับการดูแลเช่นกัน คุณกลายเป็นเหมือนพ่อและแม่ของคุณเมื่อ 20 กว่าปีก่อน ต้องแบกรับครอบครัว การงาน และผู้คน วนลูปเหมือนวัฏจักรที่ไม่มีวันจบสิ้น โดยปรากฏการณ์นี้ถูกเรียกว่า Sandwich Generation 
.
Sandwich Generation คือ กลุ่มคนวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 35 - 64 ปีที่ต้องแบกรับหน้าที่การงาน หน้าที่การเลี้ยงดูบุตร และหน้าที่การดูแลพ่อแม่ โดยข้อมูลจาก National Alliance for Caregiving ในปี 2019 ระบุว่า ประชากรในประเทศสหรัฐอเมริกาประมาณ 40 ล้านคน ต้องดูแลผู้สูงอายุในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง และ 28% ต้องดูแลทั้งผู้สูงอายุและเด็กเล็กไปพร้อมกัน ซึ่งกลุ่มคนจำนวนนี้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละปี
.
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นักวิจัยทางสังคมและนักจิตวิทยาจากหลายสถาบันให้ความสนใจกับ Sandwich Generation มากขึ้น ทั้งในแง่อัตราที่พุ่งสูงขึ้นและความกดดันทางสังคมที่ต้องแบกรับ ทำให้นักวิจัยพยายามมุ่งเน้นไปที่สุขภาพกายและสุขภาพจิตของกลุ่มคน Sandwich Generation โดยผลลัพธ์จากงานวิจัยแสดงให้เห็นถึงความน่ากังวลที่อาจตามมาจากการแบกรับความกดดันในสังคม
.
ในงานวิจัย Mental and physical health among 'sandwich' generation working-age adults in the United States: Not all sandwiches are made equal ที่เผยแพร่ในปี 2024 ระบุว่า กลุ่มคน Sandwich Generation เกิดความทุกข์ทรมานทางจิตใจอย่างรุนแรงเกือบสองเท่า ขณะที่สุขภาพกายอยู่ในระดับปานกลางถึงแย่มาก หรือคิดเป็น 1.6 เท่า ของสุขภาพกายคนปกติ
.
ที่แย่ไปกว่านั้นคือ กลุ่มคนเหล่านี้ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจุดที่ตัวเองยืนอยู่หรือสิ่งที่ต้องแบกรับถูกนิยามว่าอะไร และมีความอันตรายอย่างไร พวกเขารู้เพียงว่าศักยภาพในการทำงานของพวกเขาลดน้อยถอยลงมากเมื่อเทียบกับเมื่อก่อน ซึ่งส่งผลต่อหน้าที่การงาน ผลประกอบการ และการเงิน เชื่อมโยงไปถึงศักยภาพในการดูแลผู้คนภายในครอบครัวอีกด้วย
.
หนทางการแก้ไขหรือแบ่งเบาภาระกลุ่มคน Sandwich Generation ในเชิงปัจเจกคงต้องอาศัยความเข้าใจลักษณะการทำงานและความเป็นอยู่ของแต่ละครอบครัว ทว่าโดยภาพรวมแล้วคงปฏิเสธไม่ได้ว่าภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้คนในสังคมก็ต้องมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหานี้ร่วมกัน ภาครัฐอาจต้องช่วยในส่วนเงินสนับสนุนบำนาญผู้สูงอายุด้วยเงื่อนไขที่ง่าย ทั่วถึง และเพียงพอ ขณะที่สวัสดิการการเลี้ยงดูเด็กและเยาวชนต้องมีประสิทธิภาพมากขึ้น 
.
ในส่วนของภาคเอกชนอาจเข้ามามีบทบาทเรื่องมาตรการลดเวลางานหรือเพิ่มวันลาเพื่อดูแลครอบครัว ขณะเดียวกันผู้คนในสังคมอาจต้องพยายามลบภาพหรือมายาคติความเป็น 'ลูกกตัญญู' ที่ต้องดูแลพ่อแม่แบบถวายชีวิต เพื่อลดทอนความกดดันที่ต้องแบกรับทั้งจากงานและครอบครัว ซึ่งเรียกร้องแรงกายและแรงใจไม่ต่างกัน แน่นอนว่าการดูแลพ่อแม่และลูกเป็นสิ่งที่สำคัญและถูกต้อง แต่มันต้องอยู่ในความบาลานซ์ด้วย ถึงแม้การพูดมันดูง่ายกว่าการลงมือทำ แต่หากเราปรับความคิดสักเล็กน้อย อาจช่วยเราเยียวยาจิตใจตนเองได้บ้าง
.
ต้องขอย้ำชัดอีกครั้งว่าการดูแลใครสักคนหนึ่งไม่ใช่เรื่องผิด แต่อย่าได้หลงลืมที่จะคิดดูแลตัวเองบ้าง เพราะหากวันหนึ่งคุณตายจากไปก่อนพวกเขา จะไม่มีใครเลยคอยมอบความรักและดูแลคนเหล่านั้น ทว่าการพูดอาจง่ายกว่าการลงมือทำ เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าภายใต้ร่างกายที่ปกติต้องแบกรับภาระแบบไหนไว้ในใจบ้าง
.
เรื่อง : กนกวรรณ เชียงตันติ์
ภาพ : มณฑล ชลสุข

Ye Olde Drafte

The Sandwich Generation: Crushing Under the Weight of Responsibilities

The term "Sandwich Generation" has become increasingly prevalent in recent years, describing individuals caught between caring for their aging parents and their own children. This demographic, often falling between the ages of 35 and 64, finds themselves sandwiched between two generations, bearing the weight of both significant responsibilities on their shoulders.

A Cycle of Caregiving

The concept of the Sandwich Generation is not new. In many cultures, it's a familiar cycle: parents work hard to provide for their children, often sacrificing their own needs. As children grow up and start their own families, the cycle continues. However, in today's world, with increasing life expectancies and changing family dynamics, the pressures on this middle generation are amplified.

The Burden of Expectations

Sandwich Generation individuals often face a myriad of challenges, including:

  • Financial strain: The costs of caring for aging parents and raising children can be substantial, putting a significant strain on household finances.
  • Time constraints: Juggling the demands of a career, family care, and personal life can be overwhelming, leading to feelings of burnout and exhaustion.
  • Emotional stress: The emotional toll of caring for both aging parents and growing children can be significant, leading to feelings of guilt, resentment, and anxiety.
  • Social isolation: The responsibilities of caregiving can limit social interactions and lead to feelings of loneliness and isolation.

Health Implications

Research has shown that the physical and mental health of individuals in the Sandwich Generation can suffer as a result of the stress and strain they experience. Studies have linked caregiving to increased rates of depression, anxiety, and chronic health conditions.

Breaking the Cycle

Addressing the challenges faced by the Sandwich Generation requires a multifaceted approach. Some potential solutions include:

  • Government support: Increased government support for long-term care, elder care, and childcare can help alleviate the financial burden on families.
  • Workplace flexibility: Employers can offer flexible work arrangements to help employees balance their work and caregiving responsibilities.
  • Community support: Building stronger communities can provide social support networks for caregivers and reduce feelings of isolation.
  • Shifting societal expectations: Challenging traditional notions of caregiving and promoting a culture of interdependence can help to reduce the burden on individuals.

The Importance of Self-Care

While it's important to care for others, it's equally important for individuals in the Sandwich Generation to prioritize their own well-being. Engaging in self-care activities, such as exercise, relaxation techniques, and seeking support from friends and family, can help to prevent burnout and improve overall quality of life.

The Sandwich Generation faces unique challenges that require a comprehensive and compassionate response. By understanding the pressures faced by these individuals and implementing supportive policies and programs, we can help to alleviate their burdens and improve their quality of life.